เมนู

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นนีวรณวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ.

2. อารัมมณปัจจัย


[626] 1. นีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณสัมป-
ยุตตธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่งซึ่งราคะ เพราะปรารภราคะ
นั้น ราคะ ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่งซึ่งทิฏฐิ เพราะปรารภทิฏฐินั้น
ราคะ ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
เพราะปรารภวิจิกิจฉา วิจิกิจฉา ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ
โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
เพราะปรารภอุทธัจจะ อุทธัจจะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา
ย่อมเกิดขึ้น.
เพราะปรารภโทมนัส โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ
อุทธัจจะ ย่อมเกิดขึ้น.
2. นีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณวิปป-
ยุตตธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ พระอริยะทั้งหลายพิจารณากิเลสที่ละแล้ว ที่เป็นนีวรณสัมปยุตต-
ธรรม พิจารณากิเลสที่ข่มแล้ว รู้ซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน.

บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม โดย
ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.
บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นนีวรณสัมปยุตต-
ธรรม ด้วยเจโตปริยญาณ.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ
แก่เจโตปริญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่
อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
3. นีวรณวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณวิปป-
ยุตตธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ ให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ แล้ว พิจารณา
กุศลกรรมนั้น.
พิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน.
ออกจากฌาน พิจารณาฌาน ฯลฯ
พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค พิจารณามรรค ฯลฯ พิจารณาผล
ฯลฯ นิพพาน
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่ โคตรภู, แก่โวทาน, แก่มรรค, แก่ผล,
แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนีวรณ-
วิปปยุตตธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ตลอดถึงอาวัชชนะ.
ฯลฯ

4. นีวรณวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณสัมป-
ยุตตธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ
พิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ
ออกจากฌาน ฯลฯ
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นนีวรณวิปปยุตตธรรม เพาระปรารภจักษุเป็นต้นนั้น ราคะ ฯลฯ
ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

3. อธิปติปัจจัย


[627] 1. นีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณสัมป-
ยุตตธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลิน เพราะกระทำราคะให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำราคะนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ
ฯลฯ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่
เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.